ทำไมจึงต้องมีการต่อสายดินเข้ากับสายเส้นศูนย์ (นิวทรัล) ที่ตู้เมนสวิตช์
เพื่อให้ระบบสายดินทำงานได้อย่างสมบูรณ์ทำให้กระแสลัดวงจรที่ไหลลงสายดินสามารถ ไหลย้อนกลับไปหม้อแปลงของการไฟฟ้าฯทางสายเส้นศูนย์ได้อีกทางหนึ่ง อีกทั้งเป็นเส้นทางที่ไหลได้ สะดวกกว่าการไหลลงดินเส้นทางเดียวทำให้กระแสลัดวงจรมีค่าสูงและเครื่องตัดกระแสลัดวงจร (เบรกเกอร์หรือฟิวส์) สามารถตัดไฟออกได้อย่างรวดเร็ว
หากต่อสายดินลงดินโดยตรงที่เครื่องใช้ หรือไม่ต่อสายดินเข้ากับสายเส้นศูนย์ที่เมน สวิตช์ จะมีผลเสียอย่างไร และควรทำอย่างไร
ผลเสียคือกระแสไฟรั่วจะไหลย้อนกลับลงทางหลักดินเส้นทางเดียว หากกระแสไฟรั่วมี ปริมาณเล็กน้อย เช่น จากการเหนี่ยวนำ ก็จะไม่มีปัญหาแต่ในกรณีที่มีไฟรั่วค่าปานกลางถึงค่ามากใน ลักษณะของการลัดวงจรผ่านหรือไม่ผ่านความต้านทานนั้น กระแสไฟรั่วจะไหลลงดินได้ไม่สะดวก ทำให้เครื่องตัดกระแสลัดวงจรจะทำงานช้าหรือไม่ทำงาน ทำให้มีกระแสเกินในวงจรไหลอยู่เป็นเวลานาน ซึ่งจะมีผลเสียดังนี้
❖ สายไฟและจุดต่อต่างๆจะเกิดความร้อนและเกิดอัคคีภัยได้ง่าย
❖ กระแสและความร้อนทำให้ดินรอบหลักดินเปลี่ยนสภาพและแข็งตัวความต้านทานที่หลักดินจะเพิ่มสูงขึ้นมากแรงดันสัมผัส(touch voltage)ที่สายดินขณะมีไฟรั่วจึงสูงขึ้นตามและเกิดอันตรายได้
❖ หน้าสัมผัสจุดต่อต่างๆรวมทั้งความต้านทานที่หลักดินจะเสื่อมสภาพโดยถาวร
ข้อแนะนำในการแก้ไข
ก. แก้ไขโดยติดตั้งหลักดินที่ได้มาตรฐานเพิ่มที่ตู้เมนสวิตช์และต่อเข้ากับสายศูนย์ที่ตู้เมนสวิตช์ให้ถูกต้อง
ข. ติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วเพื่อเสริมการทำงาน
ทำไมจึงห้ามต่อสายดินเข้ากับสายเส้นศูนย์ที่ ตู้แผงสวิตช์ย่อย
การต่อสายดินเข้ากับสายเส้นศูนย์ที่ตู้แผงสวิตช์ย่อย จะทำให้สายดินและสายเส้นศูนย์ทุก เส้นในบ้านต่อถึงกันหมดและเมื่อมีการใช้ไฟฟ้าที่จ่ายไฟจากแผงย่อยจะมีกระแสไฟไหลกลับในเส้น ศูนย์และในสายดินที่ต่อร่วมกันอยู่มีผลทำให้สายดินทุกเส้นรวมทั้งตัวถังโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้าใน บ้านที่เสียบใช้อยู่มีแรงดันไฟฟ้าเนื่องจากมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านแรงดันไฟฟ้าดังกล่าวจะสูงกว่าดินและมีขนาดขึ้นอยู่กับกระแสไฟ ขนาดสายดินและความต้านทานการต่อลงดินจึงถือว่าเป็นการต่อ สายดินที่ไม่ปลอดภัย กรณีนี้จะต่างจากกรณีการต่อ ร่วมกันที่ตู้เมนสวิตช์ที่เป็นจุดที่มีการต่อลงดินทำให้สายดินใน บ้านมีแรงดันเท่ากับดิน ซึ่งในการใช้ไฟฟ้าปกติจะไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลในสายดิน